วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พิธีการรำแกลมอ

                           แกลมอ
บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

 ลักษณะทั่วไปของพิธีกรรมการเล่นแกล มอ
การเล่นมอ ชาวไทยกูย เรียกว่า แกลมอซึ่งมักเล่นในตอนกลางวัน สาระ ในการเล่น มักจะเกี่ยวกับการขี่ช้าง ขี้ม้า การจับช้าง แสดงถึงการหึงหวงช้างของตน แกลมอมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของชนกลุ่มนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ส่วนที่เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกใน สังคม ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น อาจมีสิ่งผิดปกติ หรือไม่เป็นไปตามที่ควรจะ เป็น เช่น สิ่งของสำคัญสูญหายเกิดการ เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นการสร้าง ขวัญ และกำลังใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง จึงต้อง หาวิธีการในการผ่อนคลายความกังวลใจ วิ กิ ตุ ห้ น้ ชาวบ้านตรึม ตำบล ตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นชาวไทยกูย กลุ่มหนึ่งที่ ยังมีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณค่อนข้าง สูง ดังเช่นความเชื่อในเรื่องผีมอ เป็นผีที่มี อิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก แม้ผี มอจะไม่ใช่ผีของบรรพบุรุษในสายตระกูลที่ ล่วงลับไปแล้วก็ตาม แต่ผีมอก็มีอำนาจ ควบคุมพฤติกรรมทั้งสายตระกูล ซึ่งไม่ สามารถล่วงรู้เลยว่า ผีมอจะทำให้เกิดอะไร ในครอบครัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความเจ็บ ไข้ได้ป่วยของคนในสายตระกูล ซึ่งบางครั้ง พฤติกรรมบางอย่างที่กระทำลงไปโดยไม่ ตั้งใจหรือตั้งใจก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกายให้เกิดเจ็บป่วยได้ทุกเมื่อ

 ด้วยเหตุนี้ แกลมอจึงเป็นพิธีกรรมที่ใช้ รักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ ผ่านพิธีการเสี่ยงทายแล้วว่าเป็นการกระทำ ของสิ่งที่มองไม่เห็นที่มีอิทธิพลต่อการ ดำรงชีวิตของคนในครอบครัวในสายตระกูล


ที่มา http://province.mculture.go.th/surin/index.php?mod=news&act=detail&id=74 

พิธีกรรมแกลมอ (การรักษาโรคด้วยเพลงดนตรี)
ดินแดนภาคอีสาน เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ที่มีหลากกลุ่มชาติพันธุ์
อาศัยอยู่ เช่น เขมร ลาว กูย แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างก็มีวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย ในจังหวัดสุรินทร์ เป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ และถือเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม ที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมมายาวนาน พิธีกรรมหนึ่งของชนชาวกูยที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ พิธีกรรมแกลมอ สำหรับการนำเสนอครั้งนี้ เป็นพิธีกรรมแกลมอของชาวกูยที่อาศัยอยู่ที่บ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
แกลมอเป็นภาษากูย แกลแปลว่า เล่น คำว่ามอเป็นคำเฉพาะ ซึ่งแกลมอ
หมายถึง การเล่นมอพิธีกรรมแกลมอ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าพิธีกรรมนี้มีมานานแล้ว ชาวกูยรับการถ่ายทอดต่อเนื่องกันมา จากรุ่นสู่รุ่น และปฎิบัติมาโดยตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยจัดพิธีนี้ขึ้นเนื่องในโอกาส 3 ประการ คือ
1. เพื่อเป็นการเคารพครูบาอาจารย์ ปู่ย่า ตายายที่เคยเคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็จะดำเนินพิธีกรรมขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร ขึ้น 8 หรือ 15 ค่ำ ของเดือนยี่ ตรงกับเดือนมกราคมของทุกปี
2. เพื่อแก้บน ตามที่ได้บนบานไว้
3. เพื่อรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือคนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย และหาทางรักษาตามความเชื่อ
ชาวไทยกูย มีความเชื่อในเรื่องผีปู่ตา และเชื่อว่าตะกวด เป็นตัวแทนของผีปู่ตา เชื่อว่าตะกวดเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ และฝน อันเป็นที่มาของความอุดมสมบูรณ์ โดยเซ่นไหว้ผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการเล่นแกลมอ ภูมิปัญญารักษาโรคด้วยเพลงดนตรี ที่สืบสานกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยกูย เป็นพิธีกรรมที่ช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคน กับคน คนกับธรรมชาติ